• หน้าแรก
  • เกี่ยวกับศูนย์ฯ
    • ความเป็นมา,วิสัยทัศน์,พันธกิจ,ค่านิยม
    • โครงสร้างองค์กร
    • กรรมการอำนวยการศูนย์วิจัยข้าวล้านนา
    • กรรมการบริหารศูนย์วิจัยข้าวล้านนา
    • ผู้บริหาร
    • บุคลากร
    • เครือข่ายเกษตรกร
  • งานวิจัย
    • โครงการวิจัย
      - งานวิจัย - กฏระเบียบที่เกี่ยวข้อง
    • ผลงานตีพิมพ์ - ผลงานตีพิมพ์ - กฏระเบียบที่เกี่ยวข้อง
  • งานบริการวิชาการ
    • โครงการวิชาการที่เกิดประโยชน์ต่อสังคม
    • งานสัมนาและการฝึกอบรม
    • งานแปลงนาสาธิต
    • งานโรงสีข้าวชุมชน - โรงสีข้าว - โรงอบข้าวเปลือก - ห้องบรรจุภัณฑ์ข้าว
  • ข้อมูลเผยแพร่
    • แผนการดำเนินงานประจำปี
    • รายงานผลการดำเนินงานประจำปี
    • ผลการปฏิบัติงานของผู้บริหาร
    • รายงานผลการจัดซื้อจัดจ้าง
    • ข้อมูลสาธารณะ
    • กฏระเบียบและข้อบังคับหน่วยงาน
  • E-Service
  • ติดต่อศูนย์ฯ
  • เข้าสู่ระบบ

ติดต่อ

  • สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 หมู่ 1 ถนนเลี่ยงเมือง ตำบลบางตีนเป็ด อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา 24000
  • 033-599461
  • E-mail : cco1.pr@gmail.com

ความเป็นมา,วิสัยทัศน์,พันธกิจ,ค่านิยม

ศูนย์วิจัยข้าวล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 

ความเป็นมา

 

           ศูนย์วิจัยข้าวล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดตั้งขึ้นตามมติของสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตามประกาศมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่อง การจัดตั้งส่วนงานวิชาการภายในของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2555 มีพันธกิจหลักเพื่อให้ศูนย์วิจัยข้าวล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นศูนย์กลางในการวิจัย พัฒนาและการบริการวิชาการโดยเฉพาะด้านข้าวพื้นเมืองในภาคเหนือ ภายใต้ความร่วมมือของหน่วยงานวิชาการทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยการจัดตั้งศูนย์ฯ ได้แล้วเสร็จและเริ่มดำเนินการตามภารกิจที่ได้รับตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2557 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน

           ด้านการวิจัย เป็นการทำการวิจัยด้านการอนุรักษ์พันธุกรรมข้าว การวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าว การแปรรูปผลิตภัณฑ์ข้าวเพื่อการเพิ่มมูลค่าและการใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ  โดยทุนวิจัยที่ได้ในการดำเนินงานเป็นการขอรับการสนับสนุนจากแหล่งทุนภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และแหล่งทุนภายนอกมหาวิทยาลัย ดำเนินการในลักษณะของการบูรณาการระหว่างสาขาวิชาต่าง ๆ จากนักวิจัยในเครือข่ายของศูนย์ฯ ร่วมมือกันสร้างงานวิจัยด้านข้าวที่เกิดประโยชน์ต่อสังคม ชุมชนและรวมถึงผลกระทบโดยรวมในประเทศไทย

           ด้านการบริการวิชาการ เป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีการผลิตข้าว การจัดการหลังการเกี่ยวเกี่ยว และการถ่ายทอดองค์ความรู้อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตข้าวที่มีคุณภาพ รวมถึงการให้คำปรึกษาปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการผลิตข้าวให้แก่เกษตรกร

           นอกจากนี้ศูนย์วิจัยข้าวล้านนายังมีความพร้อมในเรื่องแปลงนาสาธิตเพื่อปลูกข้าวพันธุ์ต่างๆ เพื่อการอนุรักษ์และขยายพันธุ์ข้าวพื้นเมืองคุณภาพ การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพ และส่งต่อให้นักวิจัยนำไปต่อยอดทำวิจัยในด้านต่างๆ ทั้งในด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าว หรือการสกัดสารด้านชีวเคมี หรือด้านเภสัชวิทยา รวมถึงการศึกษาดูงานพร้อมทั้งมีการสนับสนุน ส่งเสริมให้ชุมชนเกษตรกรรมมีการพึ่งพาตนเอง โดยการเป็นต้นแบบของโรงสีข้าวชุมชน ซึ่งให้เกษตรกรหรือประชาชนที่สนใจเข้ามาศึกษาดูงานระบบการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวและรวมถึงการใช้บริการกับทางศูนย์ฯ

วิสัยทัศน์

          “ผู้นำด้านงานวิจัยและนวัตกรรมข้าวล้านนาเพื่อความยั่งยืนของเกษตรกร”

(A leader of Lanna Rice Research and Innovation for Sustainability of the Farmers)

 

พันธกิจ

       

                     เพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์แผนพัฒนาการศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ระยะที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570) การดำเนินการตามวิสัยทัศน์และสามารถบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ศูนย์วิจัยข้าวล้านนามีพันธกิจในการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้และต่อยอดนวัตกรรมในการเพิ่มมูลค่าข้าวพื้นเมืองล้านนา เพื่อนำไปถ่ายทอดสู่ชุมชนเป้าหมายเพื่อสร้างความยั่งยืนให้เกษตรกรในพื้นที่ ซึ่งประกอบไปด้วยภารกิจต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

          ภารกิจหลัก

          1) วิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมในด้านข้าวแบบบูรณาการจากความเชี่ยวชาญของนักวิจัยจากหลากหลายสาขาตลอดห่วงโซ่ในการผลิตและการบริโภคข้าวล้านนา

          2) บริการวิชาการเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และนวัตกรรมในการผลิตและเพิ่มมูลค่าข้าวล้านนาแบบครบวงจร เพื่อให้เกิดการผลิตข้าววิถีใหม่สู่เกษตรกรและผู้บริโภค

          3) ส่งเสริมและสนับสนุนการต่อยอดจากงานวิจัยและนวัตกรรมที่เกิดจากข้าวล้านนาสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์

         ภารกิจสนับสนุน

         1) ส่งเสริมการอนุรักษ์พันธุกร รม ประเพณี ศิลปวัฒนธรรมและกิจกรรมด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้าวพื้นเมืองล้านนาสู่ประชาชนที่สนใจและเยาวชนรุ่นใหม่

         2) สนับสนุนกิจกรรมด้านการเรียนการสอนของหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย เช่น การเป็นศูนย์เรียนรู้และการฝึกงานของนักเรียนและนักศึกษา และการจัดหลักสูตรอบรมระยะสั้นเพื่อตอบสนองการเรียนรู้ของประชาชนแต่ละกลุ่ม

         3) สร้างรายได้จากการให้บริการด้านข้าวในรูปแบบต่าง ๆ กับเกษตรกร ผู้ประกอบการ ผู้บริโภค และการบูรณาการงานวิจัย เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการดำเนินงานของศูนย์ฯ

 

ค่านิยม

                                                                  L: Learning (องค์กรแห่งการเรียนรู้)

                                                                  R: Readiness (มีความพร้อมอยู่เสมอ)

                                                                  R: Responsibility (ความรับผิดชอบ)

                                                                  C: Collaboration (ความร่วมมือ)

 

ศูนย์วิจัยข้าวล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

239 ถนนห้วยแก้ว ตำบลสุเทพ
อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50200
โทรศัพท์ 053-944911 แฟกซ์ 053-944912
E-mail : -

จำนวนผู้เยี่ยมชม

Online ออนไลน์ 58
All เข้าเว็บทั้งหมด 46,294
To Day เข้าเว็บวันนี้ 217
This Month เข้าเว็บเดือนนี้ 417
This Year เข้าเว็บปีนี้ 5,832

Facebook

© Copyright 2022 - All Rights Reserved. BY Aszee.com